"WARDROBE MADE IN THE WORLD" ร้านแรกซ่อนตัวอยู่ในสวนจตุจักร โครงการ 3 ซึ่งยุคนั้นถือเป็นแหล่งรวมไทยแบรนด์เลือดใหม่ที่เติบโตและมีชื่อเสียงในทุกวันนี้ อย่าง Dry Clean Only หรือ Rotsaniyom เป็นต้น
ทำให้ "ป๊อป - เฉลิมเกียรติ คติเกษมเลิศ" ได้ค้นพบแนวทางที่ตนชื่นชอบอย่างแท้จริง อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการ "กรุงเทพเมืองแฟชั่น" จนได้รับทุนไปเรียนต่อที่ IFM Paris (http://www.ifm-paris.com) และการเปิดโลกทัศน์ใหม่ครั้งนี้ทำให้ป๊อปได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ Material หรือวัสดุในการตัดเย็บซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็น ‘ผ้า’ เสมอไป
โอกาสครั้งสำคัญสู่แนวทางการดีไซน์ครั้งใหม่
"ก็ทำตั้งแต่เย็บผ้าม่านไปถึงการลดไซส์หุ่น" ป๊อปเล่าถึงการฝึกงานจนได้รับโอกาสร่วมงานครั้งแรกกับไลน์ ‘ZERO Artisanal, Maison Martin Margiela Couture Collection’ และได้รับโอกาสครั้งใหญ่ ร่วมทำคอลเลคชั่นกับทางแบรนด์เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีในตอนนั้นก่อนขายแบรนด์ให้กับเครือ Diesel
ZERO ARTISANAL MMM COLLECTION
การกลับเมืองไทยและโอกาสครั้งสำคัญสู่จุดพลิกผันแห่งความสำเร็จถึงทุกวันนี้
"อยากทำเสื้อประหลาดๆ น่ะครับ" คำตอบจากปากของป๊อป เมื่อครั้งที่ยื่นพอร์ตเสนอคอนเซ็ปต์ของงานดีไซน์ ก่อนได้รับการยื่นโอกาสครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับพื้นที่ในการเปิดร้านกับ SIAM CENTER ซึ่งถือเป็นห้างสรรพสินค้าแถวหน้าที่รวมแฟชั่นไทยแบรนด์ของประเทศ
ป๊อปเล่าถึงการพัฒนาสไตล์ที่ยังไม่ชัดเจน การใช้สีหลักอย่างขาวและดำ ซึ่งทำให้คนบอกว่ามันซ้ำซากไม่มีอะไรใหม่ ป๊อปรับฟังคอมเมนต์ที่ได้ยินมากมายจากลูกค้าและรอบข้าง ปี 2011 จึงเป็นการฉีกกฎครั้งสำคัญที่เป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของแบรนด์ สู่คอลเลคชั่นแรกที่แหกกรอบ สีนีออนคือสีโทนใหม่ที่เปลี่ยนให้คอลเลคชั่นครั้งนี้เป็นที่น่าจดจำ ทำให้แบรนด์แข็งแรงขึ้นและพัฒนาความแปลกใหม่ได้อย่างชัดเจน
WONDER WONDER ที่ LIDO สู่ WONDER ANATOMIE แห่ง SIAM CENTER
"เพราะเราเป็นคนชอบอะไรที่มหัศจรรย์ บวกกับสมัยเรียนชอบไปเดินดูพิพิธภัณฑ์โครงกระดูก เวลาจะไปเที่ยวไหนก็คือจะไปดูทุกที่ เลยจับเอาคำสองคำมาชนกันคือ "WONDER" กับ "ANATOMIE" และนั่นคือจุดเริ่มต้นของชื่อแบรนด์ ซึ่งเน้นไปในคอนเซ็ปต์สไตล์ Deconstruction ที่ชัดเจนจนมาถึงทุกวันนี้
ด้วยความชอบส่วนตัวสู่ Identity ที่ชัดเจน
"ช่วงแรกๆ ของคอลเลคชั่น เราชอบร่างพวกโครงกระดูก, ฟิกเกอร์ของร่างกาย และสรีระมาเล่นซะเยอะ" ด้วยคำพูดนี้เอง เราจึงไม่แปลกใจกับงานดีไซน์คอลเลคชั่นแรกๆ ที่มักจะมีองค์ประกอบของโครงกระดูก เป็นส่วนหนึ่งของงานดีไซน์ และแน่นอนการตกแต่งของร้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หนึ่งในแลนด์มาร์คหรือร้านที่ต้องมาแห่ง SIAM CENTER
"NICHOLA KOMICHETI" ดีไซน์ไดเร็คเตอร์แห่ง DIESEL คือชื่อหนึ่งที่ถูกพูดขึ้นมา ถึงแขกที่มาเยี่ยมชมความแปลกใหม่ของร้านเสื้อในกรุงเทพฯ และคอลเลคชั่นแปลกตาที่มีสไตล์เฉพาะตัว
"เขามาเขาก็ทิ้งโน้ตไว้ว่า ฉันอยากเจอเธอมากเลย เจอกันได้ไหม พอหลังจากนั้นเราก็เป็นเพื่อนกัน เหมือนเขาก็ชอบในผลงานเราด้วย"
พูดถึงอีก 10 ปีข้างหน้าต่อไป
"ก็คงยังทำเสื้อต่อไป แต่ก็ไม่แน่ใจว่าทำเองได้หรือเปล่า เพราะตอนนี้เราถือเป็นแบรนด์ที่ใช้คนน้อยที่สุด และเราเป็นบริษัทเล็กๆ อีกเรื่องในอนาคตคงเป็นเรื่องของไอเดีย คอนเซ็ปต์ดีไซน์ที่อยากทำให้มันมาตรฐานสากลมากขึ้น อยากให้ทุกคน ทุกเชื้อชาติใส่เสื้อผ้าเราได้จริงๆ"
#CheezeLooker #CHZ #EditorPicks #WonderAnatomie
ครั้งนี้มาพร้อมกับ “VESPA” ที่ทำให้ชาว Vespisti ต้องร้องว้าว!!!
ความจริงแล้ว โมเดลรถที่ใช้ในภาพยนตร์สายลับเรื่องนี้ เป็นคนละโมเดลกับในนวนิยายต้นฉบับ
แค่แต้มนิดแต้มหน่อยก็น่ารักได้แล้ว!
#BestOf #ChelseaBoots #boots